เมื่อเร็ว ๆ นี้ เครือข่ายเชิงปฏิบัติการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของเมืองเพื่อตอบสนองการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส COVID–19 ได้จัดแถลงข่าวขึ้นที่ เทศบาลเมืองแม่เหียะ อําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้รับเกียรติจากท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัด ท่านรัฐพล นราดิศร เป็นประธาน
การแถลงข่าวในครั้งนี้เพื่อให้เกิดการยกระดับการจัดการตนเองในระดับพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการเข้าถึงการตรวจหาเชื้อไวรัส COVID-19 จากเครือข่ายเชิงปฏิบัติการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของเมือง ภายใต้โครงการการจัดการเมืองเชิงระบบในภาวะฉุกเฉินเพื่อรับผลกระทบโรคติดไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
ซึ่งโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยมีความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นในพื้นที่และส่วนกลาง รวมถึงทีม TCRT ผู้จัดทำระบบ TCRT Platform และรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย (Biosafety Mobile Unit) ที่ใช้ในการบริหารจัดการข้อมูลทั้งในเรื่องการเข้ารับการตรวจและรายงานผลให้กับผู้เข้ารับการตรวจ COVID-19
นอกจากนั้นตัวแทนจาก TCRT ก็ได้นำรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย (Biosafety Mobile Unit) นวัตกรรมที่ออกแบบและผลิตโดย Pulse Science ไปทำการเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจหาเชื้อ COVID-19 ให้กับผู้เข้าร่วมในวันแถลงข่าวอีกด้วย
สำหรับการดำเนินงานในครั้งนี้ มี 4 องค์ประกอบ คือ
1. มีการตรวจเชื้อ
2. มีการติดตามผู้ที่เข้ารับการตรวจเชื้อ
3. การดูแลตัวเองของประชาชนในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อ เช่น Home Quarantine
4. กลไกการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาชน เพื่อยกระดับและนำไปสู่ทิศทางนโยบายสาธารณะและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมสู่การเป็น COVID Free City เพื่อตอบสนองต่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19
การปฏิบัติการครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดโครงการวิจัย ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงพื้นที่ซึ่งมีกระบวนการการทำงานร่วมกัน โดยการนำความรู้และเทคโนโลยีมาใช้เพื่อทำให้เกิดการยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน ขยายผล และนำไปสู่การทำงานอย่างยั่งยืน
โดยเทศบาลเมืองแม่เหียะจะเป็นพื้นที่นำร่องในการจัดการและการดูแลระบบสาธารณสุขด้วยตนเองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การเข้าถึงระบบสาธารณสุขของประชาชนในพื้นที่นั้น ๆ และการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 เพื่อลดการกระจายของเชื้อไวรัส จากความร่วมมือของเครือข่ายฯ ร่วมกับเทศบาลเมืองแม่เหียะในการปฏิบัติการและเป็นพื้นที่สาธารณะต้นแบบ (Sandbox) เมื่อปฏิบัติการสำเร็จแล้ว จะมีการถอดบทเรียนความร่วมมือครั้งนี้ ซึ่งเป็นระบบจัดการตนเองผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่การพัฒนาและยกระดับพื้นที่อื่นต่อไป
สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการออกแบบและผลิตรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย (Biosafety Mobile Unit) ได้ที่
Pulse Science
โทรศัพท์: 02-886-7808
Email: sales@pulsescience.co.th